เครื่องกำเนิดไฟฟ้า คืออะไร
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ (Generator Set) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของระบบสำรองไฟที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยที่หลักการของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คือ “การเปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า” โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กตามหลักการของ ไมเคิล ฟาราเดย์ ที่ว่า เมื่อมีสนามแม่เหล็กที่ผ่านขดลวดตัวนำมีการเปลี่ยนแปลงจะมีจะมีการเหนี่ยวนำให้มีกระแสไฟฟ้าในขดลวดตัวนำนั้น ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) และชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator)
สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น โดยมากจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งมีทั้งแบบ 1 เฟส 2 สาย และแบบ 3 เฟส 4 สาย ซึ่งจะมีทั้งแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล โดยที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักๆ คือ เครื่องยนต์ (Engine) ไดร์ปั่นไฟ (Alternator) และชุดควบคุม (Controller) ซึ่งทุกส่วนจะถูกนำมาประกอบร่วมเป็นชุดเดียวกัน โดยที่จะมีชุดควบคุมเป็นตัวสั่งการเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์สำหรับเลือกแหล่งจ่ายไฟหรือที่เรียกว่า ATS (Automatic Transfer Switch) ว่าจะให้สับไปรับไฟจากส่วนไหน ระหว่างไฟฟ้าหลักหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแยกอิสระ ระบบจ่ายไฟฟ้าของอาคารซึ่งจะทำงานจ่ายกำลังไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆ ในกรณีที่ระบบจ่ายไฟฟ้าของอาคารหรือการไฟฟ้าขัดข้องหรือชำรุดเสียหาย ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบสัญญาณแจ้งเตือนเพลิงไหม้ ระบบสื่อสาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบลิฟต์ เป็นต้น ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินหรือเพลิงไหม้ในการปฎิบ้ติงาน การขัดข้องหรือชำรุดเสียหายของระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียทางธุรกิจ การสูญเสียรายได้ การสะดุดของกระบวนการผลิต หรือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลลดน้อยลง จึงจำเป็นต้องมีระบบจ่ายไฟสำรองติดตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่จำเป็นเช่น ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาล ฟาร์ม โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารที่พักอาศัย เป็นต้น
จากบทความเราจะได้ทราบแล้วว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะทำงานด้วยการเปลี่ยนพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า จึงเกิดกระแสไฟขึ้นมา ภายในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมีอุปกรณ์หลักอยู่ 3 อย่างคือ เครื่องยนต์ ไดร์ปั่นไฟ และชุดควบคุม